Mon. - Fri. 8.00am to 6.00pm | Sat. - Sun. 9.00am to 6.00pm

ประวัติสำนักหอสมุด
  • 2511
    จัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาสงขลา

    สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เริ่มมีมาพร้อมกับการจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาสงขลา ตามการขยายงานออกสู่ส่วนภูมิภาคของวิทยาลัยการศึกษา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511

  • 2512
    ห้องสมุดวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา

    ในครั้งแรกได้จัดสร้างอาคารขึ้นหนึ่งหลังเป็นอาคาร 2 ชั้น มีพื้นที่บริการประมาณ 1,080 ตารางเมตร ใช้ชื่อว่า "ห้องสมุดวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา" เริ่มเปิดให้บริการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2512

  • 2517
    เปลี่ยนชื่อ "สำนักหอสมุดกลาง"

    เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ห้องสมุดวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักหอสมุดกลาง"

  • 2532
    สร้างอาคารใหม่ อาคาร 5 ชั้น

    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ได้มีการขยายงานไปยังพื้นที่จังหวัดพัทลุง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ ในเวลาต่อมา สำหรับอาคารสำนักหอสมุดกลางในขณะนั้นได้ทรุดโทรมลงมาก ประกอบกับทรัพยากรสารสนเทศและผู้ใช้บริการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มหาวิทยาลัยจึงได้สร้างอาคารใหม่ เป็นอาคาร 5 ชั้น มีเนื้อที่ประมาณ 9,660 ตารางเมตร มีที่นั่งอ่านประมาณ 1,200 ที่นั่ง

  • 2538
    เปิดให้บริการอาคารสำนักหอสมุดกลาง

    เปิดให้บริการอาคารสำนักหอสมุดกลาง เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2538

  • 2539
    เปลี่ยนชื่อ "สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ"

    เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2539 สำนักหอสมุดกลาง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ" จนถึงปัจจุบัน

  • 2553
    พื้นที่ทำการทั้งวิทยาเขตสงขลาและวิทยาเขตพัทลุง

    ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ 0339/2553 เรื่อง ให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยสังกัดส่วนงาน/หน่วยงานภายในส่วนงาน ลงวันที่ 5 มีนาคม 2553 นั้น ทำให้มีผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 14 คน ที่สังกัดโครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการ (ฝ่ายห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) ย้ายมาสังกัดสำนักหอสมุด วิทยาเขตพัทลุง ปัจจุบันสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงมีพื้นที่ทำการทั้งวิทยาเขตสงขลาและวิทยาเขตพัทลุง

  • 2554
    เปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

    เปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติจาก ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Horizon) เป็น ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Walai AutoLib)